หน้าหลัก | เกี่ยวกับเรา | ถาม-ตอบ | ผลิตภัณฑ์ | วิธีสั่งซื้อ | ติดต่อเรา |
สารชีวภาพปรับปรุงดิน SM ( Bio Soil Amender ) กับการทำนาอินทรีย์
การปรับปรุงดินโดยกิจกรรมของจุลินทรีย์
วิธีการใช้
ขั้นตอนที่ 1 การเพิ่มปริมาณโดยการทำเป็นสารแบบน้ำ
1 สาร SM 50 กรัม
2 น้ำสะอาด 200 ลิตร
3 กากน้ำตาล 4 ก.ก.
นำรายการที่ 1-3 ผสมในถังคนให้เข้ากันปิดฝาทิ้งไว้ 3 วัน จะได้สารปรับปรุงดินแบบน้ำพร้อมใช้
(ควรใช้สารปรับปรุงดินแบบน้ำภายใน 1 เดือน)
ขั้นตอนที่ 2 การนำไปใช้ปรับปรุงดิน
1 สาร SM แบบน้ำ 20 ลิตร
2 น้ำสะอาด 200 ลิตร
3 กากน้ำตาล 5 ก.ก.
นำรายการที่ 1-3 ผสมในถังคนให้เข้ากัน นำไปใส่ลงในนาเพื่อปรับปรุงดินโดยไถพรวนหมักทิ้งไว้ 5-7 วันในนาพื้นที่ 1 ไร่
การนำไปใช้
นำไปใช้ในการปรับปรุงดินโดยการเพิ่มจุลินทรีย์ให้กับดิน
- ใช้หมักเศษฟาง เศษพืช ปุ๋ยคอก ในแปลงนา ทำให้ดินได้รับวัสดุอินทรีย์และธาตุอาหารพืช ดินจึงมีความอุดมสมบูรณ์ขึ้น พร้อมที่จะปลูกข้าว
- ใช้หมักเพื่อย่อยสลายข้าวดีดในแปลงนา
- ทำให้ดินมีโครงสร้างดี มีลักษณะร่วนซุย มีการระบายน้ำและอากาศดี
- ทำให้ดินมีความสามารถดูดซับน้ำและธาตุอาหารพืชสูงขึ้น จึงทำให้ประหยัดปุ๋ย
- ช่วยรักษาสภาพความเป็นกรด-ด่าง (ค่า pH ) ของดินไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก
- เปลี่ยนรูปธาตุอาหารในดินให้พืชดูดกินได้เร็วขึ้น
- ทำให้ปุ๋ย ธาตุอาหารพืชกระจายไปทั่วทั้งแปลงนา ข้าวจะโตขึ้นและเขียวเสมอกันทั้งแปลง
- ควบคุมและป้องกันเชื้อโรคพืชต่างๆ เช่นเชื้อรา
- ช่วยย่อยสลายสารพิษที่ปนเปื้อนในดินจากการใช้สารเคมี เช่น ยาฆ่าหญ้า ยาฆ่าแมลง
(สารชีวภาพปรับปรุงดิน SM 1 ซอง น.น. 50 กรัม ใช้กับพื้นที่นาได้ 10 ไร่ )
ขั้นตอนการหมักเศษฟาง เศษหญ้า ข้าวดีดในแปลงนา
1 ผสมสาร SM (จุลินทรีย์ ) ด้วยกากน้ำตาลและน้ำตามขั้นตอนที่ 2
2 การหมักเพื่อย่อยสลายตอซังข้าว
วิธีที่ 1
การใช้จุลินทรีย์SM ขยาย 200 ลิตร
การขยาย
1 สาร SM แบบน้ำ 20 ลิตร
2 น้ำสะอาด 200 ลิตร
3 กากน้ำตาล 5 ก.ก.
นำรายการที่ 1-3 ผสมในถังคนให้เข้ากัน นำไปใส่ลงในนาเพื่อย่อยสลายตอซังข้าวและปรับปรุงดิน
โดยปฏิบัติดังนี้
: ไถพรวนดินแปลงนาเพื่อล้มตอซังข้าวและหญ้า พร้อมกับนำจุลินทรีย์ที่ผสมแล้วใส่ให้ทั่วแปลงนา
: แล้วปล่อยน้ำเข้านาให้ระดับน้ำสูงประมาณ 5-10 ซ.ม.หรือท่วมเศษฟาง เศษหญ้า เพื่อจุลินทรีย์จะกระจาย
และ ขยายตัวไปทั่วแปลงนาโดยไปกับน้ำ
: หมักเศษฟาง เศษหญ้าทิ้งไว้ประมาณ 5- 7 วัน เศษฟาง เศษหญ้าจะเปื่อยและย่อยสลายเป็นวัสดุอินทรีย์
ปรับปรุงโครงสร้างดินและธาตุอาหารพืช
วิธีที่ 2
การใช้จุลินทรีย์SM ขยาย 1000 ลิตร
การชยาย
1 สาร SM แบบน้ำ 20 ลิตร
2 น้ำสะอาด 1000 ลิตร
3 กากน้ำตาล 5 ก.ก.
นำรายการที่ 1-3 ผสมในถังคนให้เข้ากัน นำไปใส่ลงในนาเพื่อย่อยสลายตอซังข้าวและปรับปรุงดิน
โดยปฏิบัติดังนี้
: ไถพรวนดินแปลงนาเพื่อล้มตอซังข้าวและหญ้า
: แล้วปล่อยน้ำเข้านา ในระหว่างปล่อยน้ำเข้านา ให้ปล่อยจุลินทรีย์ขยายที่ผสมแล้วลงไปพร้อมกับน้ำที่ปล่อย
เข้านาให้ระดับน้ำสูงประมาณ 5-10 ซ.ม.หรือท่วมเศษฟาง เศษหญ้า จุลินทรีย์จะกระจายและขยายตัวไปทั่ว
แปลงนาโดยไปกับน้ำ
: หมักเศษฟาง เศษหญ้าทิ้งไว้ประมาณ 5- 7 วัน เศษฟาง เศษหญ้าจะเปื่อยและย่อยสลายเป็นวัสดุอินทรีย์
ปรับปรุงโครงสร้างดินและธาตุอาหารพืช
: ในระหว่างการหมักควรให้ระดับน้ำท่วมเศษฟาง เศษหญ้าตลอดเวลาเพื่อทำให้จุลินทรีย์สามารถทำการย่อย
สลายได้อย่างเต็มที่และรวดเร็วและเป็นการควบคุมหญ้าไม่ให้ขึ้นอีกด้วย
3 ในกรณี ข้าวดีด ให้ปฏิบัติดังนี้
1) ควรเผาเศษฟางเศษหญ้าในนา เพื่อทำให้เมล็ดข้าวดีด เมล็ดหญ้า เชื้อโรค เช่น เชื้อรา และแมลงศัตรูข้าวต่างๆถูกทำลายไปก่อนรอบหนึ่ง
2) ให้ใช้สาร SM โดยทำการหมัก 2 ครั้ง ดังนี้
ครั้งที่ 1 หมักทิ้งไว้ประมาณ 5-7 วันแล้วปล่อยน้ำออกให้แห้งเพื่อให้ข้าวดีดที่เหลือขึ้น
ครั้งที่ 2 เมื่อข้าวดีดที่เหลือขึ้น ให้หมักอีกครั้งตามขั้นตอนแรก
การทำนา
นาข้าวเคมี
- นาหว่าน ให้ไถแล้วมอบทำเทือกแล้ว หว่านข้าว
- นาดำ ให้ไถแล้วมอบปล่อยน้ำเข้าจนได้ระดับแล้วดำนา
นาข้าวอินทรีย์
- นาหว่าน ให้ใส่ปุ๋ยหมัก ไถแล้วมอบทำเทือกแล้วหว่านข้าว
- นาดำ ให้ใส่ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์ ไถนาแล้วมอบปล่อยน้ำเข้า
จนได้ระดับ แล้วดำนา
ข้อสังเกตหลังการหมักดิน
- การไถพรวนจะง่ายขึ้นเพราะดินมีความร่วนซุยขึ้น
- ในเวลาไถมอบนา ดินจะมีลักษณะที่ลื่นขึ้น มีความนุ่ม และเนียนขึ้น
- ดินมีสาหร่ายสีเขียวและสิ่งมีชีวิตอื่นๆเกิดขึ้นบ่งบอกถึงการเริ่มมีความอุดมสมบูรณ์ของดิน
ขั้นตอนการแก้ไขดินที่เป็นกรด ( ค่า pH ต่ำกว่า 6 )
โดยการใช้สารปรับปรุงดิน SM คู่กับสารบำรุงดิน SM ในพื้นที่ 1 ไร่
1 ผสมสาร SM (จุลินทรีย์ )แบบน้ำตามขั้นตอนที่ 1 ดังนี้
1 สาร SM แบบน้ำ 20 ลิตร
2 น้ำสะอาด 1000 ลิตร
3 กากน้ำตาล 5 ก.ก.
2 ละลายผงสารบำรุงดิน SM 2 ก.ก.ผสมลงไปในน้ำสาร SM นำส่วนผสมทั้งหมดปล่อยลงไปในแปลงนาเพื่อแก้ไขความเป็นกรดและปรับปรุงโครงสร้างดินให้ร่วนซุยขึ้น
ขั้นตอนการปรับปรุงดินในกรณีที่เกษตรกรตักหน้าดินออกไป
โดยการใช้สารปรับปรุงดิน SM คู่กับสารบำรุงดิน SM ในพื้นที่ 1 ไร่
1 ผสมสาร SM (จุลินทรีย์ )แบบน้ำ ตามขั้นตอนที่ 2 ดังนี้
1 สารปรับปรุงดินแบบน้ำ 20 ลิตร
2 น้ำสะอาด 1000 ลิตร
3 กากน้ำตาล 5 ก.ก.
2 ละลายผงสารบำรุงดิน SM 4 ก.ก.ผสมลงไปในน้ำสาร SM นำส่วนผสมทั้งหมดปล่อยลงไปในแปลงนาเพื่อปรับปรุงโครงสร้างดินให้ร่วนซุยขึ้นและมีความอุดมสมบูรณ์ขึ้น
การใช้สารปรับปรุงดิน SM
หลังจากฉีดยาฆ่าหญ้า 3 วัน เพื่อล้างสารเคมี และช่วยให้ข้าวไม่สะดุดการเจริญเติบโต
วิธีใช้
1 สาร SM แบบน้ำ 20 ลิตร
2 น้ำสะอาด 1000 ลิตร
นำรายการที่ 1-2 ผสมในถังคนให้เข้ากัน แล้วนำไปใส่ลงในนาโดยปล่อยไปกับน้ำเวลาปล่อยน้ำเข้านา
( สำหรับนาพื้นที่ 1 ไร่ )
การใช้สารปรับปรุงดิน SM
: เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใส่ปุ๋ย
1) ข้าวอายุ 15 วัน หรือใส่ปุ๋ยครั้งที่ 1
2) ข้าวอายุ 45 วัน หรือใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2
วิธีใช้
1) สาร SM แบบน้ำ 20 ลิตร
2) น้ำสะอาด 1000 ลิตร
นำรายการที่ 1-2 ผสมในถังคนให้เข้ากัน แล้วนำไปใส่ลงในนาโดยปล่อยไปกับน้ำเวลาปล่อยน้ำเข้านา
( สำหรับนาพื้นที่ 1 ไร่)
|
ภาพ 2 : วัดค่าความเป็นกรด - ด่าง และปริมาณธาตุอาหารในดินก่อน (pH = 6.0 ,ธาตุอาหาร = น้อยมาก) |
|
ภาพ 4: ไถพรวณ เตรียมการย่อยสลายตอซังข้าว |
ภาพ 5 : ปล่อยน้ำจุลินทรีย์ SM ลงในแปลงนา ขยาย 20 : 200 ลิตร(ขั้นตอนที่ 2) |
ภาพ 6: เตรียมปล่อยน้ำจุลินทรีย์ SM ลงในแปลงนา |
ภาพ7 : ปล่อยน้ำจุลินทรีย์ SM ลงไปให้ทั่วแปลงนา แล้วทิ้งไว 5-7 วัน |
|
ภาพ 9 : ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ลงให้ทั่วแปลงนา |
ภาพ 10 : เติมปุ๋ยน้ำหมักปลาชีวภาพหน่อยเพื่อเพิ่มธาตุอาหารให้มากขึ้น |
ภาพ 11 : ปล่อยปุ๋ยน้ำหมักปลาให้ทั่วแปลงนา |
|
ภาพ 13 : ไถพรวณเตรียมดำนา ด้วยเครื่องจักรกล |
|
ภาพ 15 : ปรับหน้าดินให้มีความเสมอกัน (คาดนา) |
|
|
ภาพ 18 : วัดธาตุอาหารในดิน ได้ในระดับ พอดี แสดงให้เห็นว่าธาตุอาหารภายในดินมีมากพอสำหรับการเพาะปลูก |
|
ภาพ 20 : สีเขียวที่ผิวน้ำคือตะไคร่น้ำแสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ |
ภาพ 21 : เตรียมต้นกล้าสำหรับดำนา ด้วยเครื่องจักร |
ภาพ 22 : ดำนาด้วยเครื่องจักรดำนา หรือ รถดำนา |
ภาพ 23 : ดำนาด้วยรถดำนา ใกล้เสร็จแล้ว |
ภาพ 24 : อีกสักพักก็จะดำนาเสร็จแล้ว |
ภาพ 25 : ดำนาเสร็จแล้ว |
ภาพ 26 : หลังจากดำนาเสร็จ 15 วัน ให้ปุ๋ยน้ำหมักปลาลงในแปลงนาเพื่อเพิ่มธาตุอาหาร |
ภาพ 27 : ต้นข้าวเริ่มเขียวเสมอกันแล้ว หญ้าไม่ขึ้นเลย |
ภาพ 28 : ต้นข้าวเขียวขจี เขียวเสมอกัน เนื่องจากได้ธาตุอาหารที่เสมอกันทั่วแปลงนา |
ภาพ 29 : ต้นข้าวเริ่มตั้งท้องแล้วออกรวงมาให้เห็นแล้ว |
ภาพ 30 : เม็ดข้าวเสมอกันเต็มรวง |
ภาพ 31 : เดินชมแปลงนาไปเรื่อยๆ |
ภาพ 32 : ข้าวเริ่มเหลือง แล้วอีกไม่นานก็สามารถเก็บเกียวได้แล้ว |
ภาพ 33 : เม็ดของข้าวจะเต็มทุกเม็ด ไม่มีเม็ดข้าวรีบ |
ภาพ 34 : ข้าวพร้อมเก็บเกี่ยวแล้ว |
ภาพ 35 : เกียวข้าวมาแหละ เม็ดข้าวเต็มเม็ดทุกเม็ด |
ภาพ 36 : รวงข้าวยาว เม็ดเต็มทุกเม็ด ไม่มีเม็ดรีบเลย |
ภาพ 37 : เม็ดข้าวสวย |
ภาพ 38 : สีข้าวออกมาดู |